Blog

ชุดฝึกทักษะความสำคัญของพระพุทธศาสนา

กิจกรรมที่ 1.1   วิเคราะห์เปรียบเทียบความสำคัญของพระพุทธศาสนาตามประเด็นที่กำหนดให้

ความสำคัญของพระพุทธศาสนา

     หลักธรรม      แนวคิด/หลักการ

แนวทางการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

1.ทฤษฏีที่เป็นสากล

 

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
2.มีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3.เน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญา

 

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

เกณฑ์การประเมิน

3  คะแนน =  ระดับดีมาก  ตอบถูกทุกข้อ อธิบายเหตุผลได้ชัดเจน

2  คะแนน  = ระดับดี   ตอบถูกทุกข้อ อธิบายเหตุผลได้เล็กน้อย

1 คะแนน = ระดับพอใช้ ตอบถูกเป็นบางข้อ อธิบายเหตุผลถูกเป็นบางข้อ

0 คะแนน  = ระดับ ปรับปรุง  ตอบไม่ถูก อธิบายเหตุผลไม่ได้

 

 

กิจกรรมที่     1.2   เรื่องศรัทธา

       คำชี้แจง         ให้นักเรียนวิเคราะห์ตามประเด็นที่กำหนดให้แล้วนำรูปภาพมาติดให้สอดคล้องกับประเภทของศรัทธา

การสร้างศรัทธา ประเภทของศรัทธา ผลของกรรมดี ผลของกรรมชั่ว
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
  …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

 

เกณฑ์การประเมิน

3  คะแนน =  ระดับดีมาก  ตอบถูกทุกข้อ อธิบายเหตุผลได้ชัดเจน

2  คะแนน  = ระดับดี   ตอบถูกทุกข้อ อธิบายเหตุผลได้เล็กน้อย

1 คะแนน = ระดับพอใช้  ตอบถูกเป็นบางข้อ อธิบายเหตุผลถูกเป็นบางข้อ

0 คะแนน  = ระดับ ปรับปรุง  ตอบไม่ถูก อธิบายเหตุผลไม่ได้

 

     

กิจกรรมที่  1.3  เรื่องการพัฒนาปัญญา

คำชี้แจง       ให้นักเรียนวาดภาพหรือนำภาพมาติดให้สอดคล้องกับข้อความที่กำหนดให้

 

1รู้จักเหตุแห่งความเสื่อม     (อปายโกโศล)    วิธีคิด……………………………………………………………………

 

 

 

 

 

 

2.รู้จักเหตุแห่งความเจริญ   วิธีคิด………………………………………………………………………………………………

 

 

 

 

 

 

 

 

3.รู้จักหนทางหลีกเลี่ยงจากความเสื่อมและสร้างความเจริญ

 

 

 

 

 

 

 

เกณฑ์การประเมิน

3  คะแนน =  ระดับดีมาก  ตอบถูกทุกข้อ  บอกวิธีคิดได้ชัดเจน  รูปภาพสวยงาม ถูกต้องทุกข้อ

2  คะแนน  = ระดับดี   ตอบถูกทุกข้อ บอกวิธีคิดได้   รูปภาพสวยงาม  ถูกต้องเป็นบางข้อ                              1 คะแนน = ระดับพอใช้  ตอบถูกเป็นบางข้อ  บอกวิธีคิดถูกเป็นบางข้อ  รูปภาพยังไม่ถูกต้อง

0 คะแนน  = ระดับ ปรับปรุง  ตอบไม่ถูก  บอกวิธีคิดไม่ได้    รูปภาพไม่ตรงกับคำถาม

 

 

กิจกรรมที่  1.4   พระพุทธศาสนามีข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง

คำชี้แจง  ให้นักเรียนนำภาพมาติดลงในช่องที่กำหนดให้แล้วอธิบายความหมายของมัชฌิมาปฏิปทาให้ถูกต้อง

 

มัชฌิมาปฏิปทา

ภาพ

1.สัมมาทิฐิ คือ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

 

 

 

 

2.สัมมาสังกัปปะ คือ

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

 
3.สัมมาวาจา คือ…………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..  
4.สัมมากัมมันตะ คือ…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….  
5.สัมมาอาชีวะ คือ

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

 
6.สัมมาวายามะคือ………………………………………………..………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………  
7.สัมมาสติ คือ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………  
8.สัมมาสมาธิ คือ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..  

อ่านเพิ่มเติม “ชุดฝึกทักษะความสำคัญของพระพุทธศาสนา”

การพัฒนาศรัทธา

เรื่อง  การพัฒนาปัญญา

การพัฒนาศรัทธา

ศรัทธา  แปลว่า  ความเชื่อ  ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล หรือความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ  ในทางพระพุทธศาสนาตรงกับคำว่า  ปาสาทะ  แปลว่า  ความเลื่อมใสในรพระพุทธศาสนา เมื่อพูดถึงศรัทธาก็จะมีการกล่าวถึงปัญญาด้วยเสมอ  โดยสาะแห่งพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าสอนให้วางท่าทีของตนต่อข้อมูล  ข่าวสาร กล่าวคือ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้มีปัญญา  มีความรู้เป็นผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบานไม่ควรเชื่อสิ่งใดๆ  เพียงเพราะมีเหตุผลส่วนตัว ทรงวางไว้ 10  ประการหลักคือ

กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 หมายถึง วิธีปฎิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร

  1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
  2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสีบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)
  3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
  4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
  5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
  6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
  7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
  8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
  9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
  10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)

ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น

สูตรนี้ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาละมะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาละมะนั้นเป็นชาวเกสปุตตะนิคม ในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่องมงายไร้เหตุผลตามหลัก 10 ข้อ

ตัวอย่าง

  1. อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ประเภท “เขาว่า” “ได้ยินมาว่า” ทั้งหลาย
  2. อย่าได้ยึดถือถ้อยคำสืบๆกันมา ประเภท “ใครๆว่า” “โบราณว่า” ตามกระแส
  3. อย่าได้ยึดถือโดยความตื่นข่าวว่า เข่าว่าอย่างนี้ ประเภทข่าวลือ ข่าวโคมลอย ทั้งหลาย
  4. อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าไปตามตำรามากนัก ตำราว่าอย่างนั้น ต้องออกมาเป็นอย่างนั้น เท่านั้น เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เด็ดขาด เพราะอย่าลืมว่า ตำราบางเล่ม คนแต่งก็มั่วมาบ้าง เขียนไม่ครบบ้าง ใส่ไข่เอาเองบ้าง คนมีกิเลสไปแก้ไขตำรา คนมีผลประโยขน์ ไม่แก้ไขตำราเท่ากับเราโดนหลอก
  5. อย่าได้ยึดถือโดยนึกเดาเอาเอง เช่น เข้าใจเอาเอง หรือข้อมูลไม่พอ ใจร้อนเดาสุ่มเอา มั่วๆ เอา
  6. อย่าได้ยึดถือโดยการคาดคะเน การคาดการณ์ตามประวัติศาสตร์ ตามสถิติ ความน่าจะเป็น ซึ่งอาจจะผิดก็ได้ เพราะเห็นแค่ร้อย อย่าเหมาว่าที่ร้อยเอ็ดจะเป็นไปด้วย
  7. อย่าได้ยึดถือตรึงตามอาการ อย่าเห็นว่าอาการแบบนี้ น่าจะเป็นแบบนี้ ให้คิดเผื่อๆไว้ด้วย เช่น เห็นคนไข้เป็นแบบที่เคยรักษาคนอื่นๆมาก่อน อย่าไปตรึกเอาเองว่าเป็นแบบนั้น เห็นเงาก็จ่ายยาได้ เพราะเหนือฟ้ายังมีฟ้า อย่าเข้าข้างตนเอง นั่งสมาธิเห็นโน่น เห็นนี้ อย่านึกว่าเป็นจริง เพราะอาจจะเป็นจิตหลอกจิต
  8. อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่า ต้องกันกับทิฐิของตัว อย่าเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ อะไรที่ตรงกับที่ตนคิดไว้เท่านั้นที่เชื่อได้ คนคิดแบบนี้ ดื้อตายชัก
  9. อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ ระวังจะโดนหลอก อย่าลืมว่า สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
  10. อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา การยึดอาจารย์ของตนเองมากไป ก็ไม่ดี ควรทำตาม ทดสอบดู ถ้าผิดพลาดก็ไม่ต้องเชื่อ ถ้าทำแล้วดีขึ้นก็แสดงว่าเชื่อได้

หลักศรัทธาในพระพุทธศาสนา 4  อย่าง

 1.กัมมสัทธา  คือ  ความเชื่อในเรื่องของกรรม  กฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง หรือเชื่อว่าเมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา  คือการจงใจทำย่อมเป็นกรรม  เป็นความดีหรือความชั่วที่เกิดขึ้นในตัวตนและเป็นเหตุให้เกิดผลดีผลร้ายต่อตัวสืบไป

2.วิปากสัทธา  คือ  ความเชื่อว่าวิบากคือผลของกรรม  เชื่อว่าผลของกรรมม่ีจริง เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วย่อมมีผล  ผลจะต้องมาจากสาเหตุ  ผลดีเกิดจากกรรมดี  ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว

3.กัมมกตาสัทธา  คือ  เชื่อว่าคนแต่ละคนมีกรรมเป็นของตัวเองตามลักษณะที่ได้กระลงไป  ทุกคนเป็นเจ้าของและต้องรับผิดชอบการกระทำของตนเอง

4. ตถาคตโพธิสัทธา  คือ  ความเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้ได้ตรัสรู้สัจธรรมจริง  และทรงเป็นผู้ชั้ทางพ้นทุกข์ให้กับมนุษย์ทุกคน

พัฒนาการของอาเซียน

  • ใบกิจกรรมที่ 1.2
  • เรื่อง  มูลเหตุในการก่อตั้งอาเซียน

คำชี้แจง     ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

  1. ทำไมประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเห็นความจำเป็นในการร่วมมือกันในภูมิภาคจงอธิบาย
  2. การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศใดที่มีผลต่อการจัดตั้งองค์การความร่วมมือส่วนภูมิภาคแทนสมาคมอาสา
  3. ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนอย่างไร
  4. ประเทศสมาชิกอาเซียนที่มาเพิ่มเติมหลังจากมีการลงนามในปริญญากรุงเทพฯ แล้วได้แก่ประเทศใดบ้าง
  • ใบกิจกรรมที่ 1.3
  • เรื่อง  วัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของอาเซียน

คำชี้แจง     ให้นักเรียนเขียนแผนผังความคิดแสดงสาระสำคัญของวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของอาเซียน และเป้าหมายสำคัญของ 3 เสาหลักของ

1.3.1                                                            วัตถุประสงค์หลักของอาเซียนและ                                                                                                          และ เจตนารมณ์ของอาเซียน

1.3.2                                                          วัตถุประสงค์หลักของอาเซียน                                                                   และเจตนารมณ์ของอาเซียน

  •    ใบกิจกรรมที่ 1.4
  •         เรื่องกฎบัตรอาเซียน

คำชี้แจง     ให้นักเรียนสรุปสาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียนที่มีประเด็นใหม่ที่แสดงถึงความก้าวหน้าของอาเซียน โดยแยกประเด็นเป็นข้อๆ

  •    ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
  •  …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ลักษณะสังคมชมพูทวีปสมัยพุทธกาล

ลักษณะสังคมของชมพูทวีปสมัยพุทธกาล

ภาพแม่น้ำคงคาในอินเดีย

ที่มาภาพ: http://www.phuttha.com

              ชมพูทวีปเป็นแหล่งกำเนิดของพระพุทธศาสนา ศัพท์คำว่า ชมพูทวีป นี้ แปลว่า  เกาะแห่งต้นหว้า สันนิษฐานว่า  ในอดีตอาจมีต้นหว้ามากมายในดินแดนแห่งนี้ก่อนที่พวกอารยันจะเข้ามานั้น เดิมเป็นถิ่นของพวกดราวิเดียน เมื่อประมาณ 800 ปีก่อนพุทธกาล พวกอารยันซึ่งเป็นชนผิวขาวได้อพยพเข้ามายึดครองดินแดนส่วนที่อุดมสมบูรณ์ของชมพูทวีป ไล่ชนพื้นเมืองคือพวกดราวิเดียนให้ถอยร่นไปทางทิศใต้และทิศตะวันออกแถบลุ่มแม่น้ำคงคา ส่วนพวกอารยันก็ได้เข้าครอบครองดินแดนตอนเหนือ ได้แก่  ภาคเหนือของประเทศอินเดียในปัจจุบัน  ในสมัยพุทธกาลเรียกว่า มัชฌิมชนบท หรือ  มัธยมประเทศ   พวกอารยันเมื่อเข้ามายึดครองดินแดนชมพูทวีปแล้ว ได้เรียกชนพื้นเมืองหรือดราวิเดียนว่า ทัสยุ หรือ  ทาส  หรือ  มิลักขะ  ซึ่งแปลว่า ผู้เศร้าหมอง ผู้มีผิวสีดำ  หรือเรียกว่า  อนาริยกะ  แปลว่า ผู้ไม่เจริญ  ได้เรียกตัวเองว่า อารยัน หรือ  อริยกะ  ซึ่งแปลว่า  ผู้เจริญ  ทั้งพวกอารยันและพวกมิลักขะ

1.ด้านการเมืองการปกครอง   สมัยก่อนพุทธกาล ชาวชมพูทวีปมักจะปกครองกันโดยสามัคคีธรรม  คือ        พระราชวงศ์ ชั้นผู้ใหญ่และประชาชนมีสิทธิในการปกครองด้วย เมื่อกษัตริย์ผู้ปกครองทรงประพฤติผิดราชธรรม ประชาชนก็อาจทูลเชิญให้สละราชสมบัติได้ อาจทูลเชิญให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง กษัตริย์ในสมัยนั้นจึงยังไม่มีอำนาจมาก  ครั้นต่อมาถึงสมัยพุทธกาล จึงมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธราชหรือราชาธิปไตย คือ พระราชาทรงมีอำนาจเด็ดขาดในการปกครอง    สมัยก่อนพุทธกาล  ผู้เป็นหัวหน้าหรือผู้ปกครองนั้นเรียกกันว่า  มหาราชบ้าง ราชาบ้าง  ราชัญญะบ้าง และการปกครองก็ยังมิได้มีการกำหนดเขตการปกครองอย่างเป็นระเบียบและเป็นแคว้นต่างๆ หลายสิบแคว้นตามที่ระบุในติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก  พระไตรปิฎก เล่มที่ 20 มีทั้งหมด21 แคว้น โดยแบ่งเป็นแคว้นใหญ่ 16 แคว้น และแคว้นเล็กๆ 5 แคว้น

แคว้นใหญ่น้อยในมัชฌิมประเทศ 16 แคว้น
 แคว้นแต่ละแคว้น เรียกว่า  ชนบท  เฉพาะแคว้นที่มีอาณาเขตกว้างขวาง  เรียกว่า  มหาชนบท  ชนบทเหล่านี้แบ่งเป็น  2  ส่วน  คือ  ส่วนกลาง  เรียกว่า  มัชฌิมชนบท  หรือ มัธยมประเทศ  ส่วนที่  เป็นหัวเมืองชั้นนอก  เรียกว่า  ปัจจันตชนบท
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปภาพแผนที่ัสังคมชมพูทวีป
ที่มา:https://www.google.co.th/search/
1. แคว้นคันธาระ เมืองหลวงชื่อ ตักศิลา
2. แคว้นกัมโพชะ เมืองหลวงชื่อ ทวารกะ
3. แคว้นมัจฉะ เมืองหลวงชื่อ วิราฏะ
4. แคว้นกุรุ เมืองหลวงชื่อ อินทปัตถ์
5. แคว้นสุรเสนะ เมืองหลวงชื่อ มถุรา
6. แคว้นอวันตี เมืองหลวงชื่อ อุชเชนี
7. แคว้นปัญจาละ เมืองหลวงชื่อ กัมปิลละ
8. แคว้นวังสะ เมืองหลวงชื่อ โกสัมพี
9. แคว้นเจตี เมืองหลวงชื่อ โสตถิวดี
10. แคว้นโกศล เมืองหลวงชื่อ สาวัตถี
11. แคว้นกาสี เมืองหลวงชื่อ พาราณสี
12. แคว้นมัลละ เมืองหลวงชื่อ ปาวา และกุสินารา
13. แคว้นมคธ เมืองหลวงชื่อ ราชคฤห์
14. แคว้นวัชชี เมืองหลวงชื่อ เวสาลี
15. แคว้นอังคะ เมืองหลวงชื่อ จัมปา
16. แคว้นอัสสกะ เมืองหลวงชื่อ โปตลิ
                                                   ที่มา:https://www.google.co.th/search/
และยังมีแคว้นเล็กแคว้นน้อย 5 แคว้น คือ
1.แคว้นสักกะ มีเมืองหลวงชื่อ กบิลพัสดุ์
2.แคว้นโกลิยะ มีเมืองหลวงชื่อ เทวทหะ
3.แคว้นภัคคะ มีเมืองหลวงชื่อสุงสุมารคีรี
4.แคว้นวิเทหะ มีเมืองหลวงชื่อ มิถิลา
5.แคว้นอังคุตราปะ มีเมืองหลวงชื่อ อาปณะ

ที่

ชื่อแคว้น

เมืองหลวง

ผู้ปกครอง

ที่ตั้งปัจจุบัน

1

อังคะ (Anga) จัมปา (Champâ) พระเจ้าธตรัฏฐะ เมืองภคัลปุร (Bhagalpur) รัฐพิหาร

2

มคธ (Magadha) ราชคฤห์ (Rajagaha) พระเจ้าพิมพิสาร เมืองปัตนะ (Patna) เมืองคยา (Gayâ) และเมืองราชคีร (Râjgrha) รัฐพิหาร

3

กาสี (Kasi) พาราณสี พระเจ้าพรหมทัตต์ เบนาเรส บริเวณที่แม่น้ำคงคาบรรจบกับแม่น้ำยมุนา

รัฐอุตตรประเทศ

4

โกศล (Kosala) สาวัตถี พระเจ้าปเสนทิโกศล (Pasendi) สาเห็ต-มาเห็ต รัฐอุตตรประเทศ

5

วัชชี (Vajji) เวสาลี (Vesâli) คณะเจ้าวัชชีบุตรหรือกษัตริย์ลิจฉวี (Licchavis) อำเภอมูซัฟฟาร์ปุร (Muzaffarpur) เบสาร์ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำคันธกะ รัฐพิหาร

6

มัลละ (Malla) กุสาวดี ภายหลังแยกเป็นปาวา (Pâvâ) และกุสินารา (Kusinârâ) คณะเจ้ามัลละกษัตริย์ เมือง กุสินาราคืออำเภอกาเซีย (Kasia) ซึ่งอยู่ใกล้กับจังหวัดโครักขปุระ (Korakkhapur) รัฐอุตตรประเทศ ส่วนเมืองปาวาคือเมืองปาเทรานะ (Pâdrâuna)

7

เจตี (Cheti) โสตถิวดี พระเจ้าอุปริจรา เมืองบุนเดลขัณฑ์ (Bundelkhand) ตอนใต้ของรัฐอุตรประเทศและตอนเหนือของรัฐมัธยมประเทศ

8

วังสะ (Vamsa) โกสัมพี พระเจ้าอุเทน หมู่บ้านเกาสัม (Kâusam) เมืองอัลลาฮาบัด (Allahabud) ใต้แม่น้ำยมุนา รัฐอุตตรประเทศ

9

กุรุ (Guru) อินทปัตถ์ พระเจ้าโกรัพยะ เขตเดลฮี (Delhi) รัฐปัญจาป กับบางส่วนของรัฐอุตตรประเทศและรัฐหรยานะ

10

ปัญจาละ (Panchala) กัมปิลละ (Kampilla) และอหิฉัตระ จังหวัดบเรลลี รัฐอุตตรประเทศ

11

มัจฉะ (Maccha) หรือมัตสยะ (Matsya) วิราฏ เมืองชัยปุร (Jâipur) รัฐราชสถาน

12

สุรเสนะ (Surasena) มถุรา (Mathura) พระเจ้ามธุรราช อวันตีบุตร เมืองมัตตรา ระหว่างแม่น้ำสินธุและแม่น้ำยมุนาตอนล่าง รัฐอุตตรประเทศ

13

อัสสกะ (Assaka) โปตลิหรือโปตละ ลุ่มแม่น้ำโคธาวารี (Godâvarî) จังหวัดโอรังคาบาด รัฐมหาราษฎร์

14

อวันตี (Avanti) อุชเชนีและมาหิศมตี พระเจ้าจันทปัชโชติหรือปรัทโยต (Pradyota) เมืองมาลวะ (Mâlva) อุชเชน รัฐมัธยมประเทศ

15

คันธาระ (Gandhara) ตักกศิลา พระเจ้าปุกกุสาติ จังหวัดเปษวาร์ และราวัลปินดี แห่งประเทศปากีสถาน

16

กัมโพชะ (Kamboja) ทวารกะ (Dvârka) รัฐแคชเมียร์ บางส่วนของปากีสถานและบางส่วนของอัฟกานิสถาน

17

สักกะ (Sakka) กบิลพัสดุ์ (Kapilavastu) ราชวงศ์ศากยะ (Shâkyas) อำเภอโครักขปุร (Gorakkhapur) เนปาล

18

โกลิยะ (Koliya) เทวทหะ หรือรามคาม (Râmagrâma) ราชวงศ์โกลิยะ เนปาล

19

ภัคคะ (Bhagga) สุสุงมารคิรี เจ้าภัคคะ เนปาล

20

วิเทหะ (Videha) มิถิลา (Mithila) อำเภอทารภังคะ (Dârbhanga) เมืองชนัคปุร เนปาล

21

อังคุตตราปะ (Anguttarapa) เป็นเพียงนิคมชื่ออาปณะ บังกลาเทศ

22

มัททะ (Madra) สาคละ แคว้นปัญจาป ในปากีสถาน

23

สุนาปรันตะ (Sunaparanta) สุปปารกะ รัฐคุชราต

2.1 ด้านศาสนา   ความเชื่อด้านศาสนาแบ่งออกเป็น 2 สมัยคือ  สมัยพระเวทและสมัยพราหมณะ

2.1.1 สมัยพระวท  อารยันเป็นชาติแรกที่เข้ามาปกครองดินแดนชมพูทวีปบางส่วน  มีการนับถือลัทธิเทวนิยมคือ  การบูชาเทพพระเจ้า  และได้รวบรวมบทสวดอ้อนวอนพระเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ จัดเป็นคัมภีร์ เรียกว่า  “คัมภีร์พระเวท” หรือ ไตรเพท  สมัยพุทธกาลพวกอารยันนับถือยกย่อง พระอินทร์ ให้เป็นเทพพระเจ้าสูงสุด มีเทพอื่นๆ  ทำหน้าที่ช่วยเหลือ เช่น  พระพฤหัสบดี  ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาทางวิชาการ  พระวรุณ ทำหน้าที่สอดส่องคนที่ทำความผิด พระยม ทำหน้าที่ลงโทษคนที่ทำบาป

2.1.2  สมัยพระพราหมณะ  เป็นสมัยที่ชนชาติอารยันได้เคลื่อนตัวมาทางตอนเหนือของทวีป จนได้ครอบครองภาคเหนือของทวีปเกือบหมด  ฐานะของพระพราหมณ์ได้ยกย่องเป็นผู้มีฐานะสูงในสังคม เป็นผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง หรือ พรหมลิขิต  นั้นเอง  ต่อมามีการนับถือพระเจ้าเพิ่มอีกสองพระองค์ คือ พระวิษณุ และพระศิวะ โดยพวกพราหมณ์กำหนดหน้าที่ของพระเจ้าดังนี้

                  ประวัติของพระตรีมูรติมหาเทพผู้ซึ่งประทานความสมหวังในทุกประการ

                                                 ที่มา:https://www.google.co.th/search/

1. พระพรหม ซึ่งมีพระนามอื่นที่เป็นที่นิยมเรียกกันคือ พระธาดา (ผู้ทรงไว้), พระปรเมศ (ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์) และพระโลเกศ (จอมโลก) ทรงได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ พระอาตมภู (ผู้เกิดเอง) ได้ทรงสร้างสิ่งทั้งปวงขึ้นจากความว่างเปล่า โดยเมื่อทรงหว่านพืชลงในน้ำก็บังเกิดเป็นไข่ทองขึ้นและก้ได้ถือกำเนิดเป็นพระพรหม โดยพระพรหมจะทรงมีพระวรกายสีแดง มีสี่พระพักตร์ แปดพระกรรณ และสี่พระกร (บางแห่งว่ามี 8 พระกร) โดยทรงถือธารพระกร, ช้อนสำหรับหยอดเนยในไฟ, คัมภีร์, หม้อน้ำ, มีประคำล้อง และถือธนู และทรงมีหงส์เป็นพาหนะ

2. พระอิศวร  ซึ่งมีพระนามอื่นที่เป็นที่นิยมเรียกกันคือ พระตรีโลจนะ, พระมหาเทพ, จันทรเศขร, นิลกัณฐ์ โดยตำนานการกำเนิดของพระองค์อันหนึ่งกล่าวว่า ทรงเป็นโอรสของพระกัศยปกับนางสุรภี แต่บางตำนานก็กล่าวไว้ว่าทรงสร้างพระองค์ขึ้นเองจากพระเวทและพรธรรม โดยพระศิวะจะทรงมีพระวรกายสีขาว มีสามพระเนตร โดยทรงจะมีรูปพระจันทร์ครึ่งซีกอยู่เหนือพระเนตรที่สาม พระเกศามุ่นเป็นชฎา ทรงมีประคำกะโหลกหัวคนคล้องพระศอ พระสังวาลเป็นงู พระสอสีนิล ทรงนุ่งหนังเสือ, หนังกวางและหนังช้าง ทรงสถิตอยู่บนเขาไกรลาศในเทือกเขาหิมาลัย ทรงมีตรีศูลเป็นอาวุธ ถือคทายอดหัวกะโหลก ถือสังข์ ฯลฯ และทรงมีวัวเป็นพาหนะ

3. พระนารายณ์ ซึ่งมีพระนามอื่นที่เป็นที่นิยมเรียกกันคือ พระวิษณุ, พระพิษณุหริ, พระอนันตไศยน ตำนานถือกำเนิดของพระนารายณ์มีอยู่ว่าหลังจากที่พระอิศวรทรงบังเกิดขึ้นจากพระเวทและพระธรรมแล้ว ก็ทรงสร้างผู้ช่วยขึ้น โดยทรงเอาพระหัตถ์ซ้ายลูบพระหัตถ์ขวาและก็ได้ปรากฏเป็นองค์พระนารายณ์ขึึ้น และไปประทับอยู่ในเกษียรสมุทร ยามใดที่มีเหตุทุรยุคพระนารายณ์ก็มีหน้าที่ไปปราบและระงับทุกข์ โดยรูปโฉมของพระนารายณ์ที่จิตรกรนิยมเขียนก็จะเป็นบุรุษหนุ่มที่มีพระวรกายสีนิล ทรงแต่งอาภรณ์อย่างกษัตริย์ ทรงเสื้อสีเหลือง มีสี่พระกร ทรงตรีคทา จักร สังข์ บ้างก็ว่าทรงธนู ดอกบัว หรือพระขรรค์

 

3.พื้นฐานทางการศึกษาและสังคม

ในคัมภีร์สอนไว้ว่า  พระพรหมทรงสร้างมนุษย์  4 พวก จากอวัยวะต่างๆ ของพระองค์คือ

1. สร้างพราหมณ์   จาก   พระโอษฐ์ (ปาก)   หน้าที่ฝึกสอนและทำพิธีกรรม  การศึกษาทางศาสนาและวิทยาการ

2. สร้างกษัตริย์    จาก  พะพาหา (แขน) หน้าที่ รักษาบ้านเมือง  ศึกษาวิชายุทธวิธี

3. สร้างแพศย์   จาก  พระโสนี (ตะโพก)  หน้าที่ทำนา  ค้าขาย  ศึกษากสิกรรมและพาณิชยกรรม

4.สร้างศูทร  จาก พระบาท( เท้า)  หน้าที่ รับจ้าง  กรรมกร  ศึกษาในงานที่ทำด้วยตนเอง

ด้วยเหตุนี้สังคมชมพูทวีปสมัยนั้น ได้มีการแบ่งชนชั้นออกเป็น 4  พวก  หรือ 4  วรรณะ  ดังนี้

 1. วรรณะพราหมณ์เป็นวรรณะสูงสุด ได้แก่พวกผู้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ  วรรณะพราหมณ์ เกิดจากพระโอษฐ์ หรือปากของพระพรหม สีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีขาว  มีหน้าที่ กล่าวมนตร์ ให้คำปรึกษาแก่พระเจ้าแผ่นดิน  ส่วนพวกนักบวชทำหน้าที่สอนศาสนา
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปภาพวรรณะพราหมณ์

 

 2. วรรณะกษัตริย์    เกิดจากพระอุระ หรืออกของพระพรหม ถือว่าสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์   สีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะ คือสีแดง หมายถึง นักรบ ทำหน้าที่รบเพื่อป้องกันอาณาจักร รวมทั้งพระเจ้าแผ่นดิน  นักปกครอง

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

  3. วรรณะแพศย์  เกิดจากพระเพลา หรือตัก ของพระพรหม สีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือ สีเหลือง  มีหน้าที่เป็น พ่อค้า คหบดี เศรษฐี และเกษตรกร

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
4.วรรณะศูทร เกิดจากพระบาท หรือเท้าของพระพรหม สีเครื่องแต่งกายประจำคือ สีดำ หรือสีอื่นๆ ที่ไม่มีความสดใส  มีหน้าที่เป็นกรรมกร ลูกจ้าง
                                               ที่มา:https://www.google.co.th/search/

4.พื้นฐานความเชื่อทางศาสนา

ศาสนาพรหมณืในสมัยพุทธกาล ได้มีการพัฒนาความเชื่อเกี่ยวกับการเวียนเกิด เวียนตายของวิญญาณ และมีการสอนเผยแพร่หลายมากขึ้น  โดยชาวอารยันจะถูกเรียกว่า  ฮินดู และลัทธิฮินดูนับถือเรียกว่า “ศาสนาฮินดู” ส่วนใหญ่เป็นความเชื่อเรื่องวิญญาณอันเนื่องมาจากพระพรหม หรือ พรหมัน ที่นับถือพระพรหมเป็น ปรมาตมัน เป็นปฐมวิญญาณ ศาสนาพรหมณ์ – ฮินดู จึงถูกเรียกว่า ยุคอุปนิษััท   นอกจากพวกพรหมณ์ยังมีนักบวชจำนวนมากได้ประกาศลัทธิและพิธีกรรม ซึ่งมีผู้ที่นับถืออยู่ 6 ลัทธิ

ทรรศนะเกี่ยวกับโลกและชีวิตในชมพูทวีป หรือ อินเดียสมัยก่อนพุทธกาลได้มีเจ้าลัทธิต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยตั้งเป็นสำนักหรือคณะปรากฏใน พรหมชาลสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธมรรค แห่งพระสุตตันตปิฎก ว่ามีทิฐิ ถึง ๖๒ ประการ แต่เมื่อกล่าวโดยย่อ มีที่สำคัญอยู่ ๖ ลัทธิ เรียกโดยทั่วไปว่า ลัทธิของครูทั้ง ๖

1. อกิริยทิฐิ เป็นลัทธิที่มีความเห็นว่า ทำก็ไม่เชื่อว่าทำ เช่นบุญบาปไม่มี ความดีความชั่วไม่มี เจ้าลัทธินี้คือ บรูณกัสสปะ2. อเหตุกทิฐิ เป็นลัทธิที่มีความเห็นว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัยสัตว์ทั้งหลายจะได้ดี ได้ชั่ว ได้สุขหรือทุกข์ก็ได้เอง ไม่ใช่เพราะทำดีหรือทำชั่ว อนึ่งสัตว์ทั้งหลายหลังจากท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏแล้วก็บริสุทธิ์ได้เอง ลัทธินี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังสารสุทธิกวาท เจ้าลัทธินี้ คือ มักขลิโคศาล

3. นัตถิกทิฐิ  (รวมทั้งอุจเฉททิฐิ ด้วย) ลัทธินี้มีความเห็นว่าไม่มีผล คือการทำบุญทำทานการบูชาไม่มีผล เจ้าลัทธินี้คือ อชิตะเกสกัมพล ท่านผู้นี้สอนเรื่องอุจเฉททิฐิด้วย คือ เห็นว่า สัตว์ทั้งหลายตายแล้วสูญ

4. สัสสตทิฐิ ลัทธินี้มีความเห็นว่า สิ่งทั้งหลายเคยเกิดอย่างไร ก็เป็นไปอย่างนั้น เช่น โลกเที่ยง จิตเที่ยง สัตว์ทั้งหลายเคยเกิดอย่างไร ก็เป็นไปอย่างนั้นต่อไปตลอกกาล ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นของเที่ยง การฆ่ากันนั้นไม่มีใครฆ่าใคร เพียงแต่เอาศาสตราสอดเข้าไปในธาตุ (ร่าง) ซึ่งยั่งยืนไม่มีอะไรทำลายได้ เจ้าลัทธิคือ ปกุธะกัจจายนะ

5. อมราวิกเขปิกทิฐิ ลัทธินี้ความเห็นไม่แน่นอน ซัดส่ายไหลลื่นเหมือนปลาไหล เพราะเหตุหลายประการ เช่น เกรงจะพูดปด เกรงจะเป็นการยึดถือ เกรงจะถูกซักถาม เพราะโง่เขลา จึงปฏิเสธว่า อย่างนี้ก็ไม่ใช่ อย่างนั้นก็ไม่ใช่ ไม่ยอมรับและไม่ยืนยันอะไรทั้งหมด เจ้าลัทธินี้คือ สัญชัย เวลัฏฐบุตร ซึ่งเคยเป็นอาจารย์เดิมของพระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตร

6. อัตตกิลมถานุโยค และ อเนกานตวาท ลัทธินี้ถือการทรมานกายว่าเป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ มีความเป็นอยู่เข้มงวดกวดขันต่อร่างกาย เช่น อดข้าว อดน้ำ ตากแดด ตากลม ไม่นุ่งห่มผ้า เช่น พวกนิครนถ์ ตัวอย่างเจ้าลัทธินี้ คือ นิครนถ์นาฏบุตร หรือ ท่านศาสดามหาวีระ ศาสดาองค์ที่ 24 ของศาสนาเชน

อ่านเพิ่มเติม “ลักษณะสังคมชมพูทวีปสมัยพุทธกาล”

กิจกรรมฝึกทักษะการคิดเรื่อง  ลักษณะสังคมชมพูทวีปสมัยพุทธกาล  

กิจกรรมที่ 1 วิเคราะห์ระบอบการปกครองของอินเดียในสมัยพุทธกาลแล้วตอบคำถาม

1.วิเคราะห์รูปแบบการปกครองของอินเดียในสมัยพุทธกาล ตามประเด็นที่กำหนด

ระบอบการปกครองในอินเดีย

สมัยพุทธ

กาล

ลักษณะสำคัญของระบอบ

การปกครอง

ตัวอย่างเมืองหรือ

แคว้นที่ใช้ระบอบการปกครอง

หลักธรรมที่เกี่ยว

ข้องกับการปก

ครอง

ราชาธิปไตย

หรือสมบูรณาญา

สิทธิราชย์

สามัคคีธรรม

อ่านเพิ่มเติม